วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่าย ( Network : เน็ตเวิร์ค )

หมายถึง ระบบที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง มาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วเรามักจะจัดแบ่ง ระบบเครือข่าย ( Network ) ออกตามขนาดเป็น 2 ประเภท คือ

1. LAN ( Local Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้น อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายประเภทนี้ มักเป็นที่นิยมใช้ ในบริษัทหรือองค์กรขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากใช้งบประมาณในการสร้างและดูแลรักษาน้อย
2. WAN ( Wide Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่าย ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นอยู่ห่างกันมากกว่า 5 กิโลเมตร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น อาจจะอยู่กันคนละเมืองหรือคนละประเทศเลยก็ได้ ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้กับบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสาขาย่อย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ระบบเครือข่าย Internet เป็นต้น


ประโยชน์ของระบบเครือข่าย ประโยชน์ของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันนั้นมีหลายประการ ได้แก่
1. สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware ลงไปได้มาก
2. สามารถนำระบบเครือข่าย (Network) ไปเชื่อมต่อหรือเป็นประตูทางผ่าน (Gateway) เพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ได้ เช่น Minicomputer, Mainframe เป็นต้น
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Software เนื่องจากสามารถติดตั้ง Software ที่เป็นแบบเครือข่าย (Network) โดยราคาที่ติดตั้งแบบเครือข่ายนั้นจะถูกกว่าการซื้อ Software มาติดตั้งที่ ฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง โดยในระบบเครือข่ายนั้นซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) เพียงตัวเดียว ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถเรียกใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกันได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์หลาย ๆ เครื่อง รวมทั้งยังง่ายต่อการบำรุงรักษา (Maintenance) เช่น การ Update Software หรือการตรวจสอบแก้ไขปัญหาไวรัส ทำให้ประหยัดเวลา และเกิดการทำงานที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
4. ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากข้อมูลของผู้ใช้ทุกคนในระบบเครือข่ายจะถูกจัดเก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวกัน เพื่อลดความซ้อนซ้อนของข้อมูล สื่อบันทึกข้อมูล ผู้ใช้สามารถนั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ซึ่งจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลของตนเองได้เสมอ ทำให้ไม่ต้องใช้แผ่นดิสก์เก็ตหรือสื่อบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
5. ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ เมื่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารหรือส่งข้อมูลให้แก่กันได้ ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่องานระหว่างผู้ใช้ที่อยู่ไกลกัน ช่วยให้สามารถติดต่องานกันได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-1138/pic1.jpeg

http://www.rmuti.ac.th/support/special/techno/edutech/cai_on/homepage/index_file/sub_frame/chapter6/6.1.1.htm?titleno=23&botno=7


ซอฟต์แวร์ (Software)
คือ โปรแกรมคำสั่งที่ใช้สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการชนิดของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ระบบ
คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบ โปรแกรมแรกที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในตอนแรกที่เปิดเครื่อง คือ ซอฟต์แวร์ระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ
คือ

1 . ใช้ในการจัดการอุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ หรือนำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
3. จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช้ร่วมกัน เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ เป็นต้น
4. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
คือ
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter)

ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่นดอส (DOS) การใช้งานจะใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร มีลักษณะการทำงานเป็นแบบเดี่ยววินโดวส์ (Windows) มีระบบกราฟิกสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ มีลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน มีความสามารถในด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส ใช้กับเครื่อง PS/2 ของ IBM เท่านั้นยูนิกส์ (Unix) ลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน และแบบหลายผู้ใช้ เหมาะสำหรับระบบ Network ฯลฯตัวแปลภาษา มนุษย์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ระดับ คือภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) มีความยุ่งยากในการเขียน รูปแบบภาษาเป็นเลขฐาน 2 เช่นภาษาเครื่อง 1100 หมายความว่า Save ข้อมูลภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้ง่าย ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ภาษาระดับสูง ได้แก่ - ภาษาปาสคาล : เหมาะกับงานด้านการคำนวณ- ภาษาเบสิก : ทำได้ทั้งงานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน- ภาษาซี : เหมาะกับงานคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้- ภาษาฟอร์แทรน : เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์- ภาษาโคบอล : ภาษามีคำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ เหมาะกับงานด้านธุรกิจ


ที่มา





-หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
-หน่วยแสดงผล (Output Unit)
-หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ( computer hardware) หรือเรียกย่อว่า ฮาร์ดแวร์
( hardware) หรือ ส่วนเครื่อง เป็นคำที่ใช้อ้างอิงถึง ส่วนที่จับต้องได้ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมถึงข้อมูล, ระบบการคำนวณ, และซอฟต์แวร์ ที่ป้อนชุดคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำการประมวลผลความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแล


ที่มา



http://th.wikipedia.org/wiki/