วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่าย ( Network : เน็ตเวิร์ค )

หมายถึง ระบบที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง มาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วเรามักจะจัดแบ่ง ระบบเครือข่าย ( Network ) ออกตามขนาดเป็น 2 ประเภท คือ

1. LAN ( Local Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้น อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายประเภทนี้ มักเป็นที่นิยมใช้ ในบริษัทหรือองค์กรขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากใช้งบประมาณในการสร้างและดูแลรักษาน้อย
2. WAN ( Wide Area Network ) หมายถึง ระบบเครือข่าย ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นอยู่ห่างกันมากกว่า 5 กิโลเมตร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น อาจจะอยู่กันคนละเมืองหรือคนละประเทศเลยก็ได้ ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้กับบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสาขาย่อย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ระบบเครือข่าย Internet เป็นต้น


ประโยชน์ของระบบเครือข่าย ประโยชน์ของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันนั้นมีหลายประการ ได้แก่
1. สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware ลงไปได้มาก
2. สามารถนำระบบเครือข่าย (Network) ไปเชื่อมต่อหรือเป็นประตูทางผ่าน (Gateway) เพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ได้ เช่น Minicomputer, Mainframe เป็นต้น
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Software เนื่องจากสามารถติดตั้ง Software ที่เป็นแบบเครือข่าย (Network) โดยราคาที่ติดตั้งแบบเครือข่ายนั้นจะถูกกว่าการซื้อ Software มาติดตั้งที่ ฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง โดยในระบบเครือข่ายนั้นซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) เพียงตัวเดียว ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถเรียกใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกันได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์หลาย ๆ เครื่อง รวมทั้งยังง่ายต่อการบำรุงรักษา (Maintenance) เช่น การ Update Software หรือการตรวจสอบแก้ไขปัญหาไวรัส ทำให้ประหยัดเวลา และเกิดการทำงานที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
4. ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากข้อมูลของผู้ใช้ทุกคนในระบบเครือข่ายจะถูกจัดเก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวกัน เพื่อลดความซ้อนซ้อนของข้อมูล สื่อบันทึกข้อมูล ผู้ใช้สามารถนั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ซึ่งจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลของตนเองได้เสมอ ทำให้ไม่ต้องใช้แผ่นดิสก์เก็ตหรือสื่อบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
5. ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ เมื่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารหรือส่งข้อมูลให้แก่กันได้ ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่องานระหว่างผู้ใช้ที่อยู่ไกลกัน ช่วยให้สามารถติดต่องานกันได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-1138/pic1.jpeg

http://www.rmuti.ac.th/support/special/techno/edutech/cai_on/homepage/index_file/sub_frame/chapter6/6.1.1.htm?titleno=23&botno=7


ซอฟต์แวร์ (Software)
คือ โปรแกรมคำสั่งที่ใช้สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการชนิดของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ระบบ
คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการระบบ โปรแกรมแรกที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในตอนแรกที่เปิดเครื่อง คือ ซอฟต์แวร์ระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ
คือ

1 . ใช้ในการจัดการอุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ หรือนำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
3. จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช้ร่วมกัน เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ เป็นต้น
4. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
คือ
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter)

ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่นดอส (DOS) การใช้งานจะใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร มีลักษณะการทำงานเป็นแบบเดี่ยววินโดวส์ (Windows) มีระบบกราฟิกสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ มีลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน มีความสามารถในด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส ใช้กับเครื่อง PS/2 ของ IBM เท่านั้นยูนิกส์ (Unix) ลักษณะการทำงานเป็นแบบหลายงาน และแบบหลายผู้ใช้ เหมาะสำหรับระบบ Network ฯลฯตัวแปลภาษา มนุษย์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ระดับ คือภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) มีความยุ่งยากในการเขียน รูปแบบภาษาเป็นเลขฐาน 2 เช่นภาษาเครื่อง 1100 หมายความว่า Save ข้อมูลภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้ง่าย ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ภาษาระดับสูง ได้แก่ - ภาษาปาสคาล : เหมาะกับงานด้านการคำนวณ- ภาษาเบสิก : ทำได้ทั้งงานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน- ภาษาซี : เหมาะกับงานคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้- ภาษาฟอร์แทรน : เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์- ภาษาโคบอล : ภาษามีคำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ เหมาะกับงานด้านธุรกิจ


ที่มา





-หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
-หน่วยแสดงผล (Output Unit)
-หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ( computer hardware) หรือเรียกย่อว่า ฮาร์ดแวร์
( hardware) หรือ ส่วนเครื่อง เป็นคำที่ใช้อ้างอิงถึง ส่วนที่จับต้องได้ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมถึงข้อมูล, ระบบการคำนวณ, และซอฟต์แวร์ ที่ป้อนชุดคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำการประมวลผลความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแล


ที่มา



http://th.wikipedia.org/wiki/

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี


ชนิดของคอมพิวเตอร์

พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)


ไมโครคอมพิวเตอร์

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ


แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม


โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน
กับแล็ปท็อป


ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก


ข้อมูลนี้ได้มาจาก

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551


การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือมีการประมวล หรือวิเคราะห์สรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย และมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
ข้อมูล ประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ

คุณสมบัติของข้อมูลสารสนเทศที่ดี
1. มีความสมบูรณ์ถูกต้อง และเชื่อถือได้
2. มีความเป็นปัจจุบันและทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
3.มีความเกี่ยวข้องในเรื่องราวที่ต้องตัดสินใจ
4. มีความสะดวกในการค้นหา
5. มีความชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน

การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. การบันทึกข้อมูลจากจากบันทึกหรือเอกสารของหน่วยงานต่างๆ
3. การอ่านและศึกษาค้นคว้า
4. การค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
5. การเข้าร่วมในเหตุการณ์
6. การฟังวิทยุและดูโทรทัศน์


ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ หมายถึงกระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อกระทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์
การจัดทำระบบสารสนเทศ มีขั้นตอน 6 ขั้นดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การตรวจสอบข้อมูล
3.การประมวลผลข้อมูล
4.การนำข้อมูลไปใช้
5.การวิเคราะห์ข้อมูล
6.การจัดเก็บข้อมูล
1. การรวบรวมข้อมูลหมายถึง วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่นบันทึกในแฟ้มเอกสาร บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด เป็นต้น

2. การตรวจสอบข้อมูล หมายถึงขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่นการตรวจสอบพื่อหาข้อผิดพลาด ความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง
3. การประมวลผลข้อมูล หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

4. การจัดเก็บข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ

5. การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึงขั้นตอนการดำเนินการเพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ ให้ตรงสภาพที่เป็นจริง ตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้

6. การนำข้อมูลไปใช้ หมายถึง การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ